คำถาม ที่นอนนุ่ม ไม่ดี จะทำให้ปวดหลังได้ จริงหรือไม่
คำตอบ ไม่ถูกต้องเสมอไป เฉพาะกรณีที่นอนนุ่มเป็นจริงเพราะมีสปริงที่นุ่ม เพราะเมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่ง สปริงย่อมเกิดความอ่อนล้ายุบตัวลง ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ แต่หากที่นอนนุ่มเพราะชั้นวัสดุรองรับนุ่ม โดยมีสปริงที่เป็นแกนกลางของที่นอนแข็งแรง ที่นอนนุ่มลักษณะนี้จะไม่ทำให้ปวดหลัง โดยทั่วไปร่างกายของเราขณะนอน จะมีแรงกดทับบริเวณไหล่และสะโพกสูง กดทับเส้นประสาทและเส้นเลือดทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก พลิกตัวบ่อย หลับไม่สนิท ร่างกายของเราจึงต้องการที่นอนที่มีลักษณะนุ่ม จากชั้นวัสดุที่รองรับเพื่อคลายแรงกดทับ และในขณะเดียวกันเราต้องมั่นใจว่า เมื่อใช้ไปนานๆแล้ว ที่นอนจะไม่ยุบตัว นั่นคือแกนกลางของที่นอนที่เป็นสปริง ซึ่งทำหน้าที่ในการรองรับร่างกาย ต้องมีความแข็งแรงไม่ยุบตัว ตลอดอายุการใช้งาน 8-10 ปี

คำถาม การดูแลที่นอนสปริง ให้มีอายุการใช้งานได้อย่างน้อย 8-10 ปี ควรมีการผลิกกลับด้านที่นอนขึ้นมา หรือหมุนที่นอนสลับด้านหัวมาทางด้านท้ายที่นอน ทุกๆ เดือน จริงหรือไม่
คำตอบ ถูกต้อง สปริงด้านที่สัมผัสกับร่างกายจะต้องรับแรงกดมากกว่าสปริงด้านล่างที่ติดกับฐานรองที่นอน การพลิกกลับด้านที่นอน จึงเป็นการเปลี่ยนด้านใหม่ของสปริง และชั้นวัสดุรองรับมารับแรงกดเพื่อให้อีกด้านที่ใช้งานของที่นอนได้อยุดพักบ้าง การหมุนที่นอนสลับหัวท้าย ก็เป็นการสลับบริเวณที่นอนที่รองรับบริเวณขาของร่างกาย ซึ่งรับแรงกดน้อยกว่าบริเวณส่วนบนแผ่นหลังของร่างกาย ให้เปลี่ยนสลับมารับแรงกดบริเวณส่วนบนของร่างกายบ้าง และโดยทั่วไปที่นอนที่นอนคู่กันฝ่ายชายมักมีน้ำหนักน้อยกว่าฝ่ายหญิง การหมุนที่นอนก็เป็นการสลับด้านให้ที่นอนมีโอกาสรองรับได้เท่าๆกันทำให้นอนมีการยุบตัวที่เท่ากันตลอดผิวที่นอน ไม่เป็นหลุมแอ่งเฉพาะบริเวณที่เกิดกดทับมากกว่าบริเวณอื่นๆ
คำถาม จำนวนชั้นวัสดุรอรับชนิดต่างๆในที่นอนสปริง หากยิ่งมีจำนวนชั้นยิ่งมากก็จะยิ่งดี จริงหรือไม่
คำตอบ ไม่ถูกต้องนัก การมีจำนวนชั้นของวัสดุรองรับชนิดต่างๆยิ่งมีจำนวนชั้นยิ่งมากยิ่งดีนั้นให้ผลในแง่การตลาด เพราะผู้บริโภคจะคล้อยตามเหตุผลนี้ได้ง่าย ข้อเท็จจริงแล้วพบว่าวัสดุรองรับที่มีจำนวนชั้นและจำนวนชนิดของวัสดุยิ่งมาก จะให้ผลการทดสอบที่ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นควรเลือกชั้นวัสดุจากการทดลองนอนและจำนวนชั้นที่มีน้อยแต่หนาใช้วัสดุคุณภาพสูง

|
วัสดุชนิดต่างๆที่ใช้กับที่นอนสปริง |
รูปแสดงเส้นกราฟทดสอบวัสดุรองรับที่นอน เส้นที่ตรงแสดงถึงวัสดุรองรับที่ดีมากมีความสม่ำเสมอในการรองรับตลอดทั้งผิววัสดุรองรับไม่เกิดการยุบตัวเป็นแอ่ง จากการทดสอบของศูนย์วิจัย พบว่าวัสดุรองรับที่มีจำนวนชั้นและจำนวนชนิดของวัสดุยิ่งมาก จะได้ผลกราฟที่บิดเบี้ยวได้ผลการทดสอบที่ไม่ดีเท่าที่ควร
คำถาม จำนวนสปริงยิ่งมีมากๆ ยิ่งดีใช่หรือไม่
คำตอบ ไม่ถูกต้องนัก การมีจำนวนสปริงมากๆที่ผู้ขายมักพูดถึงนั้น ให้ผลในแง่การตลาด เพราะที่นอนที่มีจำนวนสปริงมากๆจะแข็งกระด้างขาดความยืดหยุ่นของสปริง จำนวนสปริงที่ใช่ขึ้นอยู่กับการออกแบบเช่นหากเส้นลวดสปริงเส้นเล็กก็จะมีความยืดหยุ่นดีแต่ความแข็งแรงต่ำทำให้จำเป็นต้องมีสปริงมากและต้องอบเส้นลวดด้วยความร้อนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงมักใช้กับที่นอนที่มีราคาสูง หากเส้นลวดหนาจะแข็งแรงไม่ยืดหยุ่นและใช้จำนวนสปริงน้อยทำให้ประหยัดต้นทุน ที่นอนราคาถูกมักนิยมใช้สปริงชนิดนี้